ข้อสอบปลายภาค 2/2559
1. ให้นักศึกษาอธิบาย
คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ทั้งสามคำมีความหมายแตกต่างกันออกไป
ซึ่งสามารถนิยามความหมายได้ดังต่อไปนี้
“ศีลธรรม” เป็นหลักประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลที่พึงปฏิบัติ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านของจิตใจ สำนึก และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในตัวบุคคล
หากฝ่าฝืนจะได้รับบทลงโทษคือถูกประณาม เหยียดหยามโดยสังคมนั้น
“จารีตประเพณี” เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ซึ่งอาจเกิดเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะสังคม หากฝ่าฝืนจะโดยสังคมตำหนิ เหยียดหยาม หรือโดนประณาม
“กฎหมาย” เป็นข้อบังคับ
จากบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐได้บัญญัติขึ้น
ใช้บังคับทุกคนที่อาศัยในประเทศนั้นๆ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ
จากนิยามจะเห็นได้ว่า ศีลธรรมและจารีตประเพณี
ความคล้ายกันตรงที่ไม่มีบทบัญญัติลงโทษที่เป็นลายลักษณ์อักษร
และมีบทลงโทษคล้ายกันคือโดนประณามจากสังคมซึ่งต่างจากกฎหมายที่มีบทบัญญัติลงโทษไว้ชัดเจน
ประเพณีกับกฎหมายเหมือนกันตรงที่มีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่ตายตัวว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรซึ่งต่างจาก
ศีลธรรมที่เป็นเรื่องของความรู้สึกไม่มีโครงสร้างหรือแนวปฏิบัติที่ตายตัว
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย
คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช.
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ศักดิ์ของกฎหมาย เป็นการจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย
โดยฝ่ายนิติบัญญัติออกฎหมายเกี่ยวกับหลักการและนโยบาย รัฐสภาออกกฎหมายที่เป็นความต้องการของสังคม
และองค์กรอื่นจะต้องกฎหมายโดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายหลัก โดยกฎหมายนั้นจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับสูงกว่า
โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ
1. รัฐธรรมนูญ / คำสั่งคณะปฏิวัติ
2. พระราชบัญญัติ
3.
พระราชกำหนด / คำสั่ง คสช.
4. พระบรมราชโองการ
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. เทศบัญญัติ
3. แชร์กันสนั่น
ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ
"กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ
โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย
6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1
ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้)
ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย
มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด
ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า
แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้
มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป"
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5
คะแนน)
จากข่าวดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าสะเทือนใจแก่วงการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร มาตรา 88 การข่มเหงผู้เรียน จะเห็นได้ว่าการทุบตี
เป็นความรุนแรง ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดี มิหนาซ้ำยังนำมาสู่การสร้างบาดแผลในจิตใจให้กับตัวเด็กและผู้ปกครอง
อาจส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อครูและไม่อยากมาเรียนหนังสืออีก ครูอาจต้องโดนลงโทษวินัยร้ายแรงตาม
มาตรา 96 ในความเป็นจริงแล้วมีหลากหลายหนทางที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
หากพบว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออกครูอาจหาเทคนิคการสอนใหม่ๆที่น่าสนใจดึงดูดนักเรียน หรือจัดโครงการให้นักเรียนมาฝึกอ่านเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดหรือหลังเลิกเรียน
เช่น โครงการอ่านออกเขียนคล่อง พี่สอนน้องอ่าน เป็นต้น
4. ให้นักศึกษา
สวอท. ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
จุดแข็ง (S)
1. ชอบจดบันทึก
2. รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมาย
3. ตั้งใจ
4. จริงจังในการทำงาน
5. มีความพยายาม
6. เป็นคนร่าเริง
7. กล้าแสดงออก
8. กระตือรือร้น
9. รักเพื่อน
จุดอ่อน (w)
1. ใช้เงินไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น
2. ไม่รอบคอบ
3. ความจำไม่ค่อยดี
4. มาเรียนสาย
5. ใช้เวลาในการทำงานนาน
6. ลังเล
7. พูดไม่คิด
8. คิดมาก กระวนกระวาย
โอกาส (o)
1. ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเจาะลึกยิ่งขึ้น
2. มีเพื่อนที่ดี
3. มีครอบครัวอบอุ่น
4. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่จากสังคมในมหาลัย
5. มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. มีครูเป็นที่ปรึกษาที่ดี
อุปสรรค (T)
1. งบประมาณในการดำเนินชีวิต
2. มีการแข่งขันในห้องเรียนสูง
3. ไม่เข้าใจในเนื้อหาในบางวิชา
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร
บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
อาจารย์ผู้สอนในรายวิชานี้มีข้อดีของวิธีการสอนดังต่อไปนี้
คือ มุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ที่สำคัญ คือ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
นั่นก็คือการสร้าง blog ซึ่งนอกจากเราจะได้เรียนรู้เฉพาะกลุ่มเรียนเราแล้ว
ผู้ที่สนใจก็สามารถเข้ามาอ่านความคิดเห็น การสรุปความรู้ของเราได้อีกด้วย ในส่วนของเนื้อหา
อาจารย์มีเอกสารประกอบการสอนและแหล่งการเรียนรู้ที่พร้อมที่ให้นักศึกษาดึงมาใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
นอกจากอาจารย์จะสอนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายให้ผู้เรียนยังมีสอดแทรกคุณธรรมไว้ด้วย
กิจกรรมส่วนใหญ่จะฝึกให้ผู้เรียนได้หัดคิดวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหากฎหมายที่ได้เรียนไป
ครูมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนดูผ่อนคลาย
ไม่ตึงเครียด แต่เนื่องจากเวลาเรียนน้อยส่งผลให้กิจกรรมในห้องเรียนไม่ค่อยหลากหลาย
จึงอยากให้อาจารย์ช่วยเพิ่มกิจกรรมให้หลากหลายนอกจากนำเสนองานกลุ่ม โดยอาจมีกิจกรรมให้วิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดกันในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น