SWOT
เนื่องจากสังคมในปัจจุบันจะเข้าสู่ยุค
Knowledge Society, Learning Society
และเศรษฐกิจเข้าสู่ยุค Digital Economy จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีจะมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรจะมองแบบระยะยาว
ซึ่งการบริหารจัดการในองค์กรในปัจจุบันจะเป็นการจัดโครงสร้างองค์การจะเป็นแนวราบและเป็นเครือข่าย
(Flat Organization & Networking) มีการกระจายอำนาจตัดสินใจสู่ผู้ปฏิบัติมากขึ้น
นอกจากนี้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น (Empowerment) ซึ่งต่างจากการบริหารแบบเดิมทีมีโครงสร้างการกระจายอำนาจแบบสามเหลี่ยม
คือจากรัฐบาลสู่องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นสู่ประชาชน ซึ่งในการบริหารแบบราบจำเป็นจะต้องใช้ความรู้เชิงสหวิทยาการมากขึ้น
และการแก้ปัญหาจะต้องมองภาพที่เป็นลักษณะองค์รวม โดยเฉพาะการบริหารในราชการจำเป็นต้องมีการวางแผนประเมินภายในองค์กรของตนเอง
เพื่อให้องค์กรมีคุณภาพทำงานเป็นไปตามเป็นหมาย ซึ่งคือการกำหนดทิศทางขององค์กร
การกำหนดทิศทางขององค์กรมักจะเป็นจุดเริ่มในการวางแผนกลยุทธ์
โดยทั่วไปเนื้อหาของทิศทางของ องค์กรมักประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) ภารกิจ (mission) และวัตถุประสงค์ (objective)
การกำหนดทิศทางขององค์กรนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
แต่การกำหนดทิศทางที่ดีต้องช่วยบอกให้กับบุคลากรทั้งหมดขององค์กรรู้ว่า องค์กรกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางใด
เป็นรูปธรรมและชัดเจน ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมาย
ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ หมายถึง การกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กรซึ่งแบ่งเป็น
2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรและสภาพแวดล้อมภายในองค์กร โดยเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่แพร่หลายที่สุดก็คือ
SWOT
SWOT
เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร
ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
คือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ
วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงาน และทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ)
ค่านิยมองค์กร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร
เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลของวิธีการดำเนินการและการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
โดยพิจารณาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
S
คือ จุดแข็ง (Strength) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้
และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
W คือ จุดอ่อน (Weakness) ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง
ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย
ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป
อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
O คือ โอกาส (Opportunity) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร
ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค
และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
T คือ อุปสรรค (Threat) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล
กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี
ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาแล้วให้นำนำจุดแข็ง
จุดอ่อนมาเทียบกับโอกาสและอุปสรรคเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น
องค์กรควรจะทำอย่างไร ช่วยให้เราได้วิเคราะห์และมองเห็น
องค์กรอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น
ทำอย่างไรจึงจะอาศัยโอกาสและจุดแข็งมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลีกเลี่ยงอุปสรรคและลดจุดอ่อนขององค์กรให้ได้มากที่สุด ซึ่งหลักการสำคัญในการ SWOT
ได้แก่ วิเคราะห์โดยสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน
คือสภาพภายในและสภาพภายนอก วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน
เพื่อให้รู้ตนเองรู้สภาพแวดล้อม วิเคราะห์โอกาส วิเคราะห์อุปสรรค
วิเคราะห์ปัจจัยต่างต่าง ๆ ทั้งนอกและในองค์กร ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ครบทั้งหมดแล้วผู้บริหารสามารถทราบถึงข้อเปลี่ยนแปลงที่เกิดทั้งในและนอกองค์กรและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เมื่อทำการ
SWOT จะดำเนินการได้โดยนำปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กรหรือปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์กรมาพิจารณาว่าจะนำมาใช้เพื่อความสำเร็จขององค์กรได้อย่างไรโดยวิเคราะห์กับกลยุทธ์
ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ SO เป็นการนำจุดแข็งและโอกาสภายนอกที่องค์กรพึงมีหรือพึงจะหาได้มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
กลยุทธ์ ST เป็นการนำจุดแข็งภายในขององค์กรมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
และแก้ไขหรือทำให้อุปสรรค ภายนอก ลดน้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
แม้ว่าในบางครั้งจุดแข็งขององค์กรอาจไม่สามารถลบล้างอุปสรรคให้หมดไปได้ แต่ก็
เป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด กลยุทธ์ WO เป็นการหาวิธีแก้ไขจุดอ่อนหรือจุดด้อยภายในองค์กรโดยพิจารณานำโอกาสภายนอกที่จะเอื้ออำนวยผลดี
หรือผลประโยชน์ต่อองค์กรมาใช้ให้มากที่สุด กลยุทธ์ WT เป็นการพยายามแก้ไขหรือลดความเสียหายของธุรกิจอันเกิดจากจุดอ่อนภายในขององค์กรและอุปสรรค
จากผลกระทบภายนอก ซึ่งอาจมีผลรุนแรงต่อการดำเนินการขององค์กร
องค์กรจำเป็นต้องหาทางหลีกเลี่ยง จากความ เสียหายเหล่านั้น
และประคองตัวเพื่อความอยู่รอด อาจต้องมีการคิดกลยุทธ์ใหม่
การวิเคราะห์
SWOT มีประโยชน์ต่อองค์กร เนื่องจากการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร
จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT
นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์
เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
เมื่ออ่านจากด้านบนอาจดูเข้าใจยาก
เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นอาจเปรียบง่ายที่สุดคือการ SWOT ตัวเอง
ประกอบไปด้วย วิเคราะห์จุดแข็ง (S)
โดยวิเคราะห์ในประเด็นดังนี้ เวลาอาจารย์สอน จะติดตาม
คิดตามในสิ่งที่อาจารย์พูดไหม มาเรียนตรงเวลาหรือไม่ เตรียมเอกสาร
เนื้อหาก่อนมาเรียนหรือไม่ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียนทำให้มีมุมมองใหม่
ๆ หรือไม่ มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
รับผิดชอบงานท่าอาจารย์สั่ง วิเคราะห์จุดอ่อน (W)
โดยวิเคราะห์ในประเด็นดังนี้ ยึดติดในความคิดของตัวเองมากเกินไป
ขี้เกียจและผัดวันประกันพรุ่ง ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ สะเพร่า
เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม ความรู้ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลาง
บางครั้งไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาและการนำไปวิเคราะห์ ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
วิเคราะห์โอกาส (O) โดยมีประเด็นดังนี้
สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ในการเรียนวิชานี้สามารถนำความรู้มาและทฤษฎีมาวิเคราะห์ข่าว โฆษณา และเพลงได้
อาจารย์อธิบายวิชาเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ
สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าใจและอาจารย์ตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ในการแปลและศัพท์ใหม่ ๆ วิเคราะห์อุปสรรค์ (T) ประกอบไปด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
จำความหมายศัพท์เฉพาะบางตัวไม่ได้
มีกิจกรรมระหว่างเรียนทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกัน
บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียน ไม่เข้าใจในวิธีการนำทฤษฎีบางตัวไปใช้
ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน ทำให้ไม่ทันเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น