แบบฝึกหัด
คำสั่ง
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนแล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย
หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
มนุษย์ต้องมีกฎหมาย
เพราะเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้วอาจเกิดความแก่งแย่ง ไม่พอใจซึ่งกันและกัน
ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทได้ จึงต้องสร้างกฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรม
และรักความสงบเรียบร้อยในสังคม หากมนุษย์เราไม่มีกฎหมายอาจส่งผลให้สังคมเกิดความกลหน
ไม่เรียบร้อย เกิดการขัดแย้ง ทะเลาะกันจนใช้กำลังทำร้ายซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
สังคมจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากไม่มีกฎหมาย
เนื่องจากเมื่อไม่มีข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของพลเมืองในสังคม
ผู้คนที่อยู่ในสังคมนั้นจะไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิด ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ทำให้สังคมเกิดความกลหน
เช่น ความขัดแย้ง การใช้ความรุนแรง อันส่งผลให้สังคมไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบัญญัติอันมาจากรัฎฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศนั้นบัญญัติขึ้นมา
เพื่อประกาศใช้บังคับให้พลเมืองของประเทศนั้นทุกคน ซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ ชั้น
วรรณะ สัญชาติปฏิบัติตามจนกว่ากฎหมายเหล่านั้นจะถูกประกาศยกเลิก และหากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
องค์ประกอบของกฎหมายประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
2. มีลักษณะเป็นข้อบังคับ
ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
หากฝ่าฝืนอาจจะถูกลงโทษในทางอาญา เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์
หรือลงโทษในทางเพ่ง เช่น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค. ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมายในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน
แต่ของประเทศไทยมี 5 ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ซึ่งผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี
ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ประชาชนปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจะกลายสภาพเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา
ซึ่งทุกศาสนาได้สร้างข้อปฏิบัติขึ้นมาเพื่อสอนให้เป็นคนดี
ดังนั้นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
เพื่อเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
เป็นการแสดงความเห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาสมควรหรือไม่
เพื่อแก้ไขข้อกฎหมายให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด
ง. ประเภทของกฎหมาย
ในประเทศไทยจะแบ่งประเภทของกฎหมายเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.
กฎหมายภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย
ดังต่อไปนี้
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นต้น
1.1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น
จารีต ประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา มีบทลงโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง
ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
ลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
1.3 กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดความร้ายแรงของโทษ
1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ใช้บังคับดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง
1.4 กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ
ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรมนูญใช้กำหนดอำนาจอธิปไตย
สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
1.4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกัน
2.
กฎหมายภายนอก
2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่คนที่ทำผิดนอกประเทศ
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร
ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย
เนื่องจากแต่ละประเทศมีประชากรหรือผู้คนอาศัยมากดังนั้นเพื่อความสงบ เรียบร้อยภายในประเทศ
จึงต้องมีการบัญญัติกฎขึ้นมาเพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในสังคม
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร
จงอธิบาย
สภาพบังคับในทางกฎหมายถึง
บุคคลทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม บุคคลคนนั้นจะได้รับโทษทางอาญา
ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน หรือทางเพ่ง คือลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม
หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความแตกต่างกัน
เนื่องจากสภาพบังคับกฎหมายในอาญาใช้สำหรับผู้ที่กระทำผิดที่มีลักษณะมุ่งร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นอาชญากรรม เช่น ชิงทรัพย์ ข่มขืน ฆ่า ค้ายาเสพติด ซึ่งบุคคลคนนั้นจะได้รับโทษทางอาญา
ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับทางเพ่ง ใช้สำหรับผู้กระทำผิดที่มุ่งหวังทรัพย์สิน
หรือศักดิ์ศรีของผู้อื่น คือลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร
จงอธิบาย
ระบบกฎหมายสามารถแบ่งได้เป็น
2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil
Law System) เป็นแบบลายลักษณ์อักษร กำเนิดในทวีปยุโรปช่วงศตวรรษที่ 12 มาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus
Gentium” ของโรมัน คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย
แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากต้ตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน
และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ซึ่งประเทศที่ใช้ได้แก่ อิตาลี
เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ญี่ปุ่น
2.
ระบบคอมมอนลอว์ (Common
Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา
คำว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์
เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้
จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ ได้แก่
อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักภพอังกฤษ
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง
มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
เนื่องจากนักวิชาการได้แบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย
ซึ่งการแบ่งแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่งประเภท ได้แก่
การแบ่งโดยแหล่งกำเนิด ประกอบไปด้วย กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก ได้แก่
1.
กฎหมายภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย
ดังต่อไปนี้
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นต้น
1.1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น
จารีต ประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา มีบทลงโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง
ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
ลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
1.3 กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดความร้ายแรงของโทษ
เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตรา
1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ใช้บังคับดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ตั้งแต่เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา
จนถึงการพิจารณาคดีในศาล
1.4 กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ
ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรมนูญใช้กำหนดอำนาจอธิปไตย
สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
1.4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกัน
2.
กฎหมายภายนอก
2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา
2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่คนที่ทำผิดนอกประเทศ
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร
มีการแบ่งอย่างไร
ศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง การจัดลำดับค่าบังคับของกฎหมาย
หรืออำนาจของผู้ออกกฎหมาย ซึ่งอาศัยว่าองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการออกกฎหมายสำคัญ
เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น รัฐสภาจะออกกฎหมายทันต่อความต้องการของสังคม
และฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายในอยู่ภายใต้กรอบของหลัก กฎหมายใดที่อยู่ขั้นต่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์ไม่ได้
ซึ่งประเทศไทยได้จัดลำดับความสำคัญของศักดิ์ของกฎหมายได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
2.
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยเห็นชอบจากรัฐสภา
ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย
3. พระราชกำหนด
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน
ซึ่งเมื่อตราแล้วขึ้นนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน)
หากอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเหมือนพระราชบัญญัติ
4.
ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ
มีลักษณะคล้ายกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน
5. พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ประกาศพระบรมราชโองการ
มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และขัดกับกฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
6. กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก
โดยออกตามกฎหมายแม่บท มีความสำคัญรองลงมาจากพระราชกฤษฎีกา
7 ข้อบัญญัติจังหวัด
เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล
ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น เพื่อจัดเรียงสังคมดูแลทุกข์สุขประชาชน
8
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล
โดยมีการแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่
24 พฤศจิกายน 2555
มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า
รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า
รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
จากเหตุการณ์นี้รัฐบาลกระทำผิด เนื่องจากได้ทำร้ายร่างกายประชาชนจนได้รับบาดเจ็บ
จากเหตุการณ์อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชนและรัฐบาลได้ แต่ประชนก็มีส่วนผิดที่ไม่ปฏิบัติตามที่รัฐบาลได้ประกาศว่าเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมทำให้เกิดความวุ่นวาย
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายการศึกษา
หมายถึงข้อบังคับจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ
บังคับใช้กับทุกคนในประเทศนั้นๆ มีการกำหนดบทลงโทษหากฝ่าฝืน
เป็นกฎที่เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กร บริหารงานบุคคล และบริหารทรัพยากร
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้
ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู
จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
เมื่อไปประกอบอาชีพครู
หากไม่ได้ศึกษากฎหมายจะทำให้ไม่รู้ว่าตนมีสิทธิอะไร มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง สิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติมีอะไรบ้างเมื่ออยู่สถานศึกษาเพื่อไม่ให้ผิดวินัยตามที่ได้กำหนด
และเมื่อเกิดปัญหาภายในองค์กรก็ไม่สามารถแก้ได้เนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น